ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเงินกู้ โครงการ ช.พ.ค.6 วงเงินสูงสุด1.2ล้าน และ โครงการ 7 วงเงินไม่เกินสามล้านบาท

คู่มือโครงการเงินกู้ ช.พ.ค. (โครงการ 7) วงเงินไม่เกินสามล้านบาท

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ ชมรมผู้แทนสมาชิก ช.พ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ http://www.spkeisan.com/

ดาวน์โหลดที่นี่ http://www.spkeisan.com/attach/news_1315493549_คู่มือการกู้เงินสามล้าน.rar

การจัดเรียงเอกสารการกู้เงิน ชพค ที่ ศรีสะเกษ ให้เรียงดังนี้ครับ

1. แบบคำขอกู้และรับรองสิทธิ์ ประกอบด้วย  (ดาวน์โหลดแบบกู้เงิน ชพค ) พร้อมตัวอย่างการกรอก

  • แบบตรวจสอบเอกสารคำขอกู้เงิน โครงการ
  • บันทึกปรับโครงสร้างหนี้ (กรณีเงินเหลือไม่ถึงเกณฑ์ บันทึกเสนอขึ้นไปว่าจะนำเงินไปปิดสถาบันการเงินใดบ้าง)
  • แบบคำขอกู้ (มี 4 แผ่น)
  • หนังสือยินยอมให้หักเงินสงเคราะห์ครอบครัว ชพค
  • หนังสือให้ิยินยอมหักเงินเดือน
  • หนังสือยินยอมใหัหักเงินกู้สมทบกองทุนสวัสดิการเสริมความมั่นคง

2. แบบระบุผู้มีสิทธิ์รับเิงินสงเคราะห์ครอบครัว  ชพค 1/1 (เคยกู้แล้วไม่ต้องแนบ เพระระบุมาแล้ว ) (ดาวน์โหลด ชพค. 1/1)

3. สำเนาใบเสร็จออมทรัพย์ย้อนหลัง 3 เดือน (ขอได้ที่สหกรณ์) กรณีที่ไม่์ได้เป็นสมาชิกออมทรัพย์ให้ขอใบรับรองว่าไม่ได้เป็นสมาชิกมาแนบ ด้วย

4. หลักฐานประกอบผู้กู้

  • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนสมรส
  • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประชาชนคู่สมรส
  • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส
  • สำเนาสลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)

5. หลักฐานประกอบผู้ค้ำ

  • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนสมรส
  • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประชาชนคู่สมรส
  • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส
  • สำเนาสลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)

6. หลักฐานพยาน

  • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

ปล. การใช้หลักฐานประกอบ การกู้เงิน ชพค แต่ละจังหวัดอาจแตกต่างกัน โปรดโทรไปสอบถามที่สำนักงานแต่ละที่

ที่มา http://www.kroobannok.com/
สกสค.เดินหน้าปล่อยกู้ช.พ.ค.6 วงเงินสูงสุด1.2ล้าน ให้ผู้กู้ทำประกันชีวิต-หัก2พันเข้ากองทุน

เงินกู้ตั้งแต่ 1,100,001 – 1,200,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 8,000.- บาท ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเงินกู้. แบบฟอร์มเงินกู้โครงการ ช.พ.ค.6

MLR-0.50ดาวน์โหลดเอกสารกู้

รายงานข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แจ้งว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษา (สกสค.) ได้เปิดให้สมาชิกกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการ ศึกษา  ช.พ.ค.ในโครงการใหม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เปิดให้สมาชิก ช.พ.ค.ยื่นกู้ในโครงการที่ 5 ในวงเงินสูงสุดรายละ 600,000 บาท ซึ่งโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.ใหม่นี้ ไม่ได้ระบุว่าเป็นโครงการที่ 6 โดยเอกสารที่ สกสค.แจกให้กับสมาชิก ช.พ.ค.ที่ได้ยื่นเอกสารกู้นั้น ระบุว่า เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ค่ารักษาพยาบาล ชำระหนี้สิน และอื่นๆ มีวงเงินกู้ตั้งแต่ 600,000 บาท สูงสุด 1,200,000 บาท มีระยะเวลาชำระเงินกู้ 10 ปี คิดอัตราดอกเบี้ย MLR-0.50 ต่อปี ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR= 5.85 นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ยื่นกู้ต้องทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ แต่ให้ยึดตามความสมัครใจ และให้ทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งผู้กู้ต้องยินยอมให้หักเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมความมั่นคง โครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.เป็นเงิน 2,000 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ สกสค.ได้เตรียมปล่อยกู้ในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.6 มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เรื่องได้เงียบไป เนื่องจากมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้าน อาทิ นายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และนายพนม พงษ์ไพบูลย์ อดีตปลัด ศธ. ที่เห็นว่าจะยิ่งทำให้ปัญหาหนี้สินครูเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ได้มีนโยบายให้ สกสค.ควรเข้ามาร่วมแก้ไขหนี้สินครูในภาพรวมทั้งระบบ ซึ่ง ศธ.ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูทั้ง ระบบขึ้นมา เพื่อนำข้อมูลหนี้สินครูหารือกับกระทรวงคลัง โดยนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัด ศธ.ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาวิเคราะห์ฯ เพิ่งนำเสนอข้อมูลให้นายชินวรณ์ไปแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงาน จากการสำรวจหนี้ครูครั้งล่าสุดของคณะกรรมการศึกษาวิเคราะห์ฯ พบว่า ครูทั่วประเทศมีหนี้สินมากถึง 1 ล้านล้านบาท เป็นเงินที่กู้จากโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.1-5 กว่า 3 แสนคน มีมูลค่าหนี้สินกว่า 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งหนี้มากเป็นอันดับ 2 รองจากการกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 87 แห่งทั่วประเทศ และเฉพาะโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.5 มีครูยื่นกว่า 1 แสนคน นอกจากนี้นายชินวรณ์ยังระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่า หาก สกสค.จะทำโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.จะต้องมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าโครงการที่ผ่านมาๆ อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่าโครงการ ช.พ.ค.6 ออกมาในช่วงที่นายชินวรณ์และผู้บริหาร ศธ.ส่วนใหญ่เดินทางไปราชการยังต่างประเทศ

นายวัฒนา วรรณโสภา รองเลขาธิการ สกสค. กล่าวว่า สกสค.ได้เปิดให้สมาชิก ช.พ.ค.ยื่นกู้ในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.6 แล้ว เนื่องจากมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นสมาชิก ช.พ.ค.ทั่วประเทศประมาณ 7 หมื่นคน ที่เดือดร้อน ได้แจ้งความจำนงให้ปล่อยกู้ให้ ทำให้ต้องเดินหน้าโครงการนี้ต่อ ซึ่งจะได้พิจารณาปล่อยกู้ให้เฉพาะสมาชิก ช.พ.ค.ที่เดือดร้อน อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไม่จำเป็นต้องรอข้อสรุปการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูทั้งระบบที่จะต้อง หารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพราะเป็นคนละส่วนกัน

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 8 สิงหาคม 2553

เปิดบริการแล้วสำหรับโครงการเงินกู้ ชพค โครงการ6

สมาชิกสามารถส่งแบบฟอร์มและเอกสารได้ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2553 เป็นต้นไป

หลักเกณฑ์เงื่อนไข สินเชื่อ (โครงการ ช.พ.ค.6)

หลักเกณฑ์เงื่อนไข สินเชื่อ(โครงการ ช.พ.ค.6)
หลักเกณฑ์เงื่อนไข สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. (โครงการ ช.พ.ค.6) ให้สมาชิกอ่านก่อนคาดว่าจะให้กู้ภายในเดือน ส.ค 53 นี้)

คุณสมบัติผู้กู้
1. เป็นสมาชิก ช.พ.ค. ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ณ วันที่ยื่นกู้
2. กรณีที่ขอกลับเข้าเป็นสมาชิก ช.พ.ค. ต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับตั้งที่รับอนุมัติให้กลับเข้าเป็นสมาชิก
3. ไม่เคยค้างเงินสงเคราะห์รายศพ ช.พ.ค. ก่อนยื่นคำขอกู้ 6 เดือน และชำระเงินให้เป็นปัจจุบัน
4. ไม่เคยค้างเงินงวดผ่อนชำระเงินกู้โครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ก่อนยื่นคำขอกู้ 3 เดือนแลชำระเงินให้เป็นปัจจุบัน
5. ต้องรักษาสถานภาพ ช.พ.ค.ตลอดอายุสัญญา
6. ไม่กู้เงินโครงการอื่นของ ช.พ.ค. สำหรับผู้ที่กู้เงินโครงการ ช.พ.ค. อยู่ก่อนโครงการนี้ ขอกู้ได้โดยการหักกลบลบหนี้
7. ผู้กู้ที่มีเงินเดือน,บำนาญต้องมีเงินเดือนหรือบำนาญคงเหลือย้อนหลัง 3 เดือนติดต่อกัน หรือผู้กู้ที่ไม่มีรายได้ประจำต้องมียอดเงินฝากผ่านบัญชีธนาคารคงเหลือย้อน หลัง 6 เดือนต่อกัน

รายละเอียด ดังนี้
เงินกู้ไม่เกิน 600,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 4,000.- บาท
เงินกู้ตั้งแต่ 600,001 – 700,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 4,500.- บาท
เงินกู้ตั้งแต่ 700,001 – 800,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 5,000.- บาท
เงินกู้ตั้งแต่ 800,001 – 900,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 5,500.- บาท
เงินกู้ตั้งแต่ 900,001 – 1,000,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 6,000.- บาท
เงินกู้ตั้งแต่ 1,000,001 – 1,100,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 7,000.- บาท
เงินกู้ตั้งแต่ 1,100,001 – 1,200,000.- บาท คงเหลือไม่ต่ำกว่า 8,000.- บาท
8. หน่วยงานต้นสังกัดยินยอมหักเงินนำส่งชำระหนี้ให้ธนาคาร หากสังกัดสถานศึกษาเอกชนหรือมหาวิทยาลัยเอกชน หน่วยงานดังกล่าว ต้องยินยอมหักเงินและนำส่งหน่วยงานของสำนักงาน สกสค. ที่รับชำระเงิน
9. ผ่านการรับรองสิทธิจากสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.

วัตถุประสงค์ การกู้เงิน
1. เพื่อการศึกษา
2. เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล
3. เพื่อชำระหนี้สิน
4. อื่น ๆ ตามความต้องการของผู้กู้

จำนวยเงินให้กู้
ราย ละไม่เกิน 1,200,000.- บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทล้วน) ยกเว้นผู้กู้อายุเกิน 65 ปี (นับถึงวันยื่นแบบคำขอกู้) ให้กู้ได้ไม่เกิน 600,000.- บาท (หกแสนบาทถ้วน)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เท่ากับ MLR – 0.50 ต่อไป
2. อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้บวก 2 ต่อปี

ระยะเวลาการให้กู้
ระยะ เวลาการกู้ 10 ปี เมื่อสัญญากู้ครบกำหนด หากธนาคารยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบจะทำการทบทวนใหม่ทุก 1 ปี หากผู้กู้มีประวัติติดต่อดีและไม่มีการบอกเลิกสัญญา หรือหากธนาคารพิจารณาให้สัญญามีผลบังคับใช้ต่อ ให้ถือว่าสัญญามีผลบังคับใช้ต่อเนื่องปีต่อปี โดยไม่ต้องทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้

หลักประกันเงินกู้
1. หนังสือยินยอมให้หักเงินสงเคราะห์ครอบครัว และ
2. หลักประกัน ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
2.1 บุคคลค้ำประกัน
2.1.1 กู้ไม่เกิน 600,000.- บาท กรณีทำประกันสินเชื่อ ใช้บุคคลค้ำประกัน 1 คน กรณีทำประกันสินเชื่อ ใช้บุคคลค้ำประกัน 2 คน
2.1.2 กู้ตั้งแต่ 600,000.- บาท กรณีทำประกันสินเชื่อ ใช้บุคคลค้ำประกัน 2 คน กรณีทำประกันสินเชื่อ ใช้บุคคลค้ำประกัน 4 คน
2.1.3 คุณสมบัติผู้ค้ำประกัน
(1) ผู้ค้ำประกันต้องมิใช่คู่สมรสของผู้กู้
(2) ผู้ค้ำประกันต้องมีความสามารถในการทำนิติกรรม มีถิ่นที่อยู่แน่นอนสามารถติดต่อได้
(3) ผู้ค้ำประกันต้องยินยอมให้หักเงินเดือน,เงินบำนาญ หรือบัญชีเงินฝากธนาคาร
(4) หน่วยต้นสังกัดหรือหน่วยจ่ายเงินเดือน,เงินบำนาญของผู้ค้ำประกัน ต้องอยู่ในจังหวัดเดียวกับผู้กู้
(5) หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยจ่ายเงินเดือนและเงินบำนาญ ต้องแสดงความยินยอมให้หักเงินในหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนและเงินบำนาญ ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
(6) ผู้ค้ำประกัน 1 คน ค้ำประกันโครงการนี้ได้ไม่เกิน 2 สัญญา
(7) กรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000.- บาท ทั้งนี้ ไม่รวมพนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราว สำหรับลูกจ้างประจำต้องมีอายุทำงานคงเหลือไม่น้อยกว่า 10 ปี
(8) กรณีเป็นครูโรงเรียนเอกชนในระบบ หรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนต้องมีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วไม่ น้อยกว่า 5 ปี และมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000.- บาท

คำว่า ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในโรงเรียน และหมายรวมถึงผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ และผู้อำนวยการของโรงเรียนเอกชนในระบบด้วย

คำว่า อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเยนการสอน และส่งเสริมการเรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเอกชนและให้หมายรวมถึงเจ้าของ ผู้อำนวยการ ผู้บริหารของวิทยาลัยเอกชนด้วย

คำว่า รายได้ หมายถึง เงินเดือนและรายได้อื่น เช่น เงินค่าตอบแทนพิเศษเป็นต้น
(9) กรณีที่เป็นข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุด้านการศึกษา ต้องมีเงินบำนาญและเงินรายไดอื่นที่ทางราชการจ่ายให้ ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 8,000.- บาท
2.1.4 หลักเกณฑ์สำหรับผู้ค้ำประกัน
ผู้กู้เป็น

เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติด้านการศึกษาครูโรงเรียนเอกชนในระบบ
อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน ผู้ค้ำประกันต้องเป็น
– เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา หรือ
– ข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุด้านการศึกษา หรือ
– ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ หรือ
– อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน

เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา – เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา หรือ
– ข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุด้านการศึกษา หรือ
– พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือ
– เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันกับผู้กู้ เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษาหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในสังกัดของกระทรวง วัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เจ้าหน้าที่ประจำของสหกรณ์ออมทรัพย์ – เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา หรือ
– ข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุด้านการศึกษา หรือ
– พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือ
– เจ้าหน้าที่ประจำของสหกรณ์ออมทรัพย์ในหน่วยงานทางการศึกษา

อื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้น – เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา หรือ
– ข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุด้านการศึกษา หรือ
– พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ทั้ง นี้ กรณีผู้กู้ต้องการให้หักเงินงวดรายเดือนจากบุคคลอื่นชำระหนี้ให้ธนาคารบุคคล นั้นต้องให้ความยินยอม และมีความสัมพันธ์กับผู้กู้ ในฐานะบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะ เท่านั้น

2.2 หลักทรัพย์ค้ำประกัน ต้องเป็นของผู้กู้ คู่สมรส บิดา มารดา หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
2.2.1 ไม่เกินร้อยละ 100 ของจำนวนเงินผากคงเหลือในสมุดฝากเงิน และไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าสลากออมสินพิเศษ โดยไม่ต้องพิจารณามูลค่าสลากอออมสินพิเศษเมื่อถอนคืนก่อนครบอายุ หรือ
2.2.2 ไม่เกินร้อยละ 95 ขอราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร หรือ
2.2.3 ไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาประเมินที่ดินว่างเปล่า หรือ
2.2.4 ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินห้องชุด

โดย เป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมีความเจริญ มีสาธารณูปโภคพื้นฐานตามความจำเป็น และมีทางสาธารณประโยชน์ ซึ่งรถยนต์ผ่านเข้าออกได้สะดวก และต้องทำประกันอัคคีภัยตามวิธีที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้ กรณีหลักทรัพย์ตาม 2.2.2 – 2.2.4 เป็นของบุคคลอื่น ต้องมีความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ สกสค. จังหวัดที่ท่านสังกัด

คำถามที่พบบ่อย
คำถาม คำตอบ
– กู้เงิน ช.พ.ค. โครงการอื่นแล้วกู้เพิ่มได้หรือไม่ ?
1. ผู้ที่กู้เงินโครงการ ช.พ.ค. อยู่ก่อนโครงการนี้ ขอกู้ได้โดยการหักกลบ
ลบหนี้ ทุกโครงการ รวมหนี้เงินกู้ ชพค. กับธนาคารกรุงไทย(เหลือเงินกู้
ชพค.เพียงสัญญาเดียว)
เงื่อนไขการทำประกัน, ทำประกันอย่างไร, ทำประกัน
ได้ผลตอบแทนอย่างไรบ้าง
1. ผู้กู้โครงการ 5 จะทำประกันเต็มวงเงินกู้ใหม่ หรือ ทำประกันใน
วงเงินที่เกินวงเงินกู้เดิมก็ได้ เช่น เดิมกู้ไว้ 6 แสน บาท และทำประกันไว้
ถ้ากู้โครงการนี้ 1.2 ล้าน จะทำประกันในวงเงินเต็ม 1.2 ล้าน หรือ ทำ
ประกันในวงเงินที่เพิ่มเติมอีก 6 แสนบาท ก็ได้
2. เมื่อผู้กู้ถึงแก่กรรม สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. จะดำเนินการปิด
บัญชีเงินกู้ โดยหักจากเงินประกัน (เงินสงเคราะห์ครอบครัวยังรับเท่า
เดิม)
– ถ้าไม่ทำประกันได้หรือไม่

1. ถ้าไม่ทำประกันจะต้องหาผู้ค้ำกันเพิ่มตามเงื่อนไขที่กำหนด และ เมื่อ
ผู้กู้ถึงแก่กรรม จะต้องหักเงินสงเคราะห์ชำระเงินกู้ก่อน ซึ่งอาจไม่พอ
ชำระหนี้ (ธนาคารจะดำเนินการติดตามเอาจากเงินได้อื่นหรือจาก
ทรัพย์สินของผู้กู้และผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้จนครบ)
– หลังจาก 9 ปี ถ้าไม่ตาย จะทำยังไง

1. เมื่อครบ 9 ปี กรณีสมาชิกอายุไม่เกิน 65 ปี ก็ต่อสัญญาเงินกู้และให้ทำ
ประกันต่อไปอีก กรณีอายุเกิน 65 ปี อาจต่อครั้งละ 1 ปี หรือ ถ้าภายใน 9
ปี เงินสงเคราะห์ครอบครัวอาจเพิ่มขึ้น (ปัจจุบัน 8 แสน) เพียงพอชำระ
วงเงินกู้ ก็อาจไม่ต้องทำประกัน หรือ อาจมีวิธีดำเนินการอื่นได้อีก
– ทายาท หมายถึง ลูกใช่หรือไม่

1. ทายาท หมายถึง ผู้ที่สมาชิกระบุให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์
ครอบครัวจะระบุคนเดียว หรือ หลายคน ก็ได้ (ทายาทที่ระบุสำหรับ
สมาชิกที่ขอกู้เงิน จะต้องไปเซ็นต์ยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงาน
สกสค. จังหวัด และจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น)
– ผู้กู้ ผู้ค้ำ และ ทายาท จะต้องไปที่สำนักงาน แล้วต้อง
ต้องไปเซ็นต์ที่ธนาคารออมสินอีกหรือไม่

1. ผู้กู้ และ ทายาท ไปพร้อมกันที่สำนักงาน สกสค. จังหวัด ในวันที่ยื่น
แบบคำขอกู้ และผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน ต้องไปเซ็นต์ที่ธนาคารออมสิน ในวัน
ทำสัญญากู้เงินอีกครั้ง (ส่วนทายาทไม่ต้องไปที่ธนาคารออมสิน)
– ผู้ค้ำเป็นข้าราชการอยู่ต่างจังหวัดได้หรือไม่

1. ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข และต้องปฏิบัติงาน
อยู่ภายในจังหวัดเดียวกัน
– ตรวจสอบเครดิตบูโรภายใน คืออะไ

1. ผู้กู้ – ผู้ค้ำ จะต้องไม่ค้างชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของ ช.พ.ค.-ช.พ.ส. , ค่า
สงเคราะห์รายศพ, เงินกู้อื่น ๆ ของธนาคารออมสิน หากตรวจสอบว่ามี
การค้างชำระ จะต้องดำเนินการชำระหนี้สินที่ค้าง และ ชำระเงินให้เป็น
ปกติ อย่างน้อย 3 เดือน
– ทำไมเอกสารเยอะ/เงื่อนไขเยอะจัง

1. เอกสารจำนวน 2 ชุด/ผู้กู้ 1 คน ถ้าค้ำประกันผู้อื่นด้วย ก็ต้องเตรียม
เอกสารสำหรับการค้ำประกัน จำนวน 2 ชุด/คน หลักเกณฑ์เงื่อนไข
เป็นไปตามที่ธนาคารออมสินได้ทำข้อตกลงไว้กับ ช.พ.ค.
– โครงการ ฯ ปิดเมื่อไหร่

1. ยังไม่มีกำหนดปิดโครงการ ฯ (คาดว่าจะเปิดดำเนินการจนกว่าจะมี
คำสั่งให้ปิดโครงการ ฯ)
– การอนุมัติเงินต้องรอนานหรือไม่, ต้องรอนานแค่ไหน

1. สำนักงาน สกสค. จังหวัด ส่งเอกสารถึงธนาคารภายใน 1 สัปดาห์
2. การอนุมัติเงินกู้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารออมสิน

คิดว่าคุณครูทุกท่านคงมีความสุข  มากขึ้นนะคะ กับโครงการนี้   🙂

About krukobrs

Ratchasima Wittayalai Schoool

Posted on สิงหาคม 27, 2010, in ข่าวสารวงการครู, เงินกู้โครงการ ช.พ.ค.6 and tagged . Bookmark the permalink. 138 ความเห็น.

  1. เป็นลูกจ้างชั่วตราวถ้าคนค้ำเป็นข้าราชการแต่ไม่ได้ทำงานในหน่วยงานครูและไม่ได้เป็นสมาชิก ชพค. แต่อยู่จังหวัดเดียวกันค้ำได้ไหมคะ

  2. บิดามารดาเสียชีวิต ไม่จดทะเบียนสมรส บุตรไม่บรรลุนิติภาวะ ยื่นกู้ได้ไหม

  3. จำเป็นมั้ยคะว่าผู้ค้ำประกัน จะต้องเป็นสมาชิก ชพค เท่านั้น เนื่องจากผู้กู้ตำแหน่งพนักงานราชการค่ะ ผู้คำประกันต้องเป็นข้าราชการ แต่จำกัดมั้ยว่าแค่สมากชิก ชพค ด้วยกันเท่านนั้น

  4. กู้โครงการ6 ต้องการคืนเงินต้นสักครึ่ึงหนึ่งต้องทำอย่างไร

  5. กู้โครงการ6 ต้องการคืนเงินต้นสักครึ่่งหนึ่ง ต้องทำอย่างไรคะ

  6. ส่ง เงินช.พ.ค. มาหลายปีแล้ว แต่ตอนนี้ทำงานบริษัทมีสิทธิ์กู้เงินหรือเปล่าค่ะ

  7. เขียนสิทธิทายาทไว้ ๔ คน(สามี ๑ และ ลูก ๓) เวลากู้เงินทายาทต้องไปเซนต์ทุกคนหรือเปล่า หรือเลือกคนใดคนหนึ่งไปเซนต์ก็ได้

  8. ตรวจเครดิตบูโรด้วยหรือเปล่าค่ะ

  9. อยากรบกวนถามหน่อยค่ะ ธนาคารตรวจสอบเครดิตบูโรด้วยหรือเปล่าค่ะ

  10. ยื้นกู้ไปแล้วครับ หลายเดือนแล้วยังไม่อนุมัติเลย ทำยังไงดีครับ

    • ติดต่อที่ สกสค จังหวัดก่อนค่ะ ว่าเราอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ หนังสือไปถึงธนาคารออมสินหรือยัง ถ้าไปออมสินแล้ว ก็คงไม่นานค่ะ

  11. หาคนค้ำ ช.พ.ค.ให้คุณแม่ (ต่างคนต่างค้ำ) จ.นครราชสีมา ด่วน ค่ะ

    กรุณาติดต่อ 081-123-2946 ตลอด24 นะค่ะ

    รบกวน ทีนะค่ะ

  12. เป็นลูกจ้างชั่วคราวของโรงเรียนของรัฐมาเป็นระยะ 3 ปี แล้ว และเป็นสมาชิก ช.พ.ค.และได้จ่ายเงินค่าสมาชิกมาโดยตลอด ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะกู้ ช.พ.ค. โครงการ 6 แต่ไม่สามารถกู้ได้เพราะว่าหาผู้ค้ำประกันยากมาก ผู้ค้ำประกันแคบมาก ครูที่มีอยู่ก็จับกลุ่มกันหมดแล้ว ทำให้เราผู้ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถจะกู้ได้ ทั้งที่เราก็เป็นสมาชิกเหมือนกันและก็จ่ายเงินเหมือนกัน..ผู้บริหารที่รับผิดชอบหน้าจะให้ความเมตตากับเราบ้าง ที่เราสมัครเป็นสมาชิกก็เพราะว่าเราจะได้ใช้สิทธิเท่ากับสมาชิกคนอื่นๆ บ้าง.. เราก็จ่ายค่าสมาชิกเท่ากับคนอื่น ๆ แต่เราไม่สามารถใช้สิทธิได้….น่าจะให้สมาชิก ช.พ.ค. สามารถค้ำกันเองได้ น่าสงสารลูกจ้างชั่วคราวเหลือเกิน กรุณาให้ความเป็นธรรมด้วย อยากมีสิทธิเหมือนกับคนอื่นเขาบ้างจะได้ไหมค่ะ

  13. ค่ะอยากถามว่าหากติดบูโรของอันอื่นและเปนหนี้ของออมสินด้วยจะยื่นกู้ได้ไมค่ะเครียดมากตอนนี้ ไม่มีทางออกเลยค่ะ

    • ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ของสกสค.จังหวัดด้วยค่ะ ธนาคารออมสิน ด้วย โดยทั่วไปต้องลองคุยดู ถึงความจำเป็นเพราะโครงการนี้ต้องการช่วยเหลือคนที่ลำบากอยู่แล้ว

  14. ครูผู้รอความหวัง

    คนที่่่กู้เงิน ชพค.ไปแล้วไม่กี่เดือนดอกเบี้ยขึ้นสูงมากตาม ค่า MRL ต่อปี ถ้าแต่ละปีค่าเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างนี้เวลาทำสัญญา ก็ไม่มีผลสิคะ อย่างเมื่อต้นปี ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรให้จ่ายเท่านั้นเท่านี้ แต่เวลาจ่ายกลับเพิ่มดอกเบี้ยมากกว่าเดิมซะงั้น ดอกขึ้นแบบไม่ได้บอกล่วงหน้า โดยที่เราได้แต่ก้มหน้าจ่ายดอกที่มากกว่าเดิม แต่ไม่รู้ชะตากรรมว่าจะเพิ่มหรือจะลดเมื่อไหร่ไม่มีข้อมูลชัดเจน ธนาคารก็โบ้ยให้สกสค.เป็นคนออกมาตราการดอกเบี้ย โบ้ยกันไปโ่บ้ยกันมาไม่รับผิดชอบ อยากให้รัฐบาลใหม่ช่วยเหลือในเรื่องดอกเบี้ย ชพค.ด้วยไม่ไหวแล้ว ดอกเบี้ยขึ้นมากกว่ารัฐบาลเก่าซะอีก

  15. ครูผู้รอความหวัง

    ช่วยด้วยดอกเบี้ย ชพค. โหดเหลือเกินเงินเดือนแทบหมดตูดเลย ดอกเบี้ยขึ้นแบบน่ากลัวคนที่กู้ 1200000 ทีแรกแจ้งว่า ผ่อนเดือนละ 6400 บาท 30 ปี แต่ดูตอนนี้สิ เพิ่มเป็น 7500 บาท 30 ปี ต้นยังอยู่เหมือนเดิมแต่เพิ่มดอก ดอกโหดมาก ๆ เลย รัฐบาลช่วยหน่อยได้ไหม เห็นใจครูจน ๆ หน่อยเถอะ

  16. ฟังแล้วสับสน
    ขอรบกวนถามดังนี้
    1.ระเบียบใหม่ 6 เดือนกู้ได้เลยไหม
    2.ผมสมัคร พฤษภาถึงปีใหม่ครบ 6 เดือนพอดี กู้ได้ยัง
    3.ปัจจุบันระเบียบใหม่กู้ได้ 1800000 จริงไหมครับ
    ขอบคุณครับ

    • รบกวนจริง ๆ โทรถามชพค โดยตรงก็ไม่รู้เรื่อง ดุดุ
      ปวดใจ เกิดเป็นครูไทย มีปัญหา ก้ไร้ที่ปรึกาา ว้าเว่ นะ ระเบียบก็ไม่ชัด หาคนคำ้ก้ยาก

    • 1. โดยทั่วไปไม่น่ามีปัญหาค่ะ ครบ 6 เดือนกู้ได้
      2. โครงการ 7 สูงสุด 3,000,000 ค่ะ ตามคุณสมบัติผู้กู้ (เงินเดือน)

  17. ครูที่เดือดร้อน

    อยากทราบว่าถ้าเป็นหนี้ สินเชื่อ อย่างอื่นของธนาคารออมสินอยู่ จะกู้ได้มั้ยค่ะ และต้องยินยอมให้หักหนี้คืนก่อนใช่ มั้ยค่ะ

  18. เป็นสมาชิก ชพค.มา 1 ปีกับ 6 เดือน ของโรงเรียนเอกชน ถ้าจะขอกู้ชพค.โครงการ 7 เปิดเมื่อไหร่ค่ะ

  19. อยากทราบว่าข้าราชการครูที่อายุเกิน 35 ยังสมัครสมาชิกได้อยู่หรือเปล่าคะและถ้าได้ต้องรอนานไหมคะจึงจะยื่นกู้ได้ ต้องยื่นกู้ที่ไหน เอกสารอะไรบ้าง มีคนบอกว่า ดอกถูกมาก แล้งเงินต้นต้องส่งเป็นกี่% ของวงเงินกู้คะ และต้องส่งกี่งวดคะ เพื่อนครูบางคนบอกว่าสมมติว่ากู้หนึ่งล้านสองแสน แล้วต้องเสียค่าประกันชีวิต ประมาณสามหมื่น แล้วเราก็ส่งเงินต้นกับดอกไปเรื่อย ๆ ทุกเดือนแล้ววันหนึ่งเราเสียชีวิตส่วนหนี้ที่เหลือบริษัทประกันจะรับผิดชอบหนี้สินแทนเราทั้งหมดโยไม่ไปหักจากทายาทของเรา จริงหรือคะ อย่างนี้บริษัทประกันจะคุ้มหรือคะ เพราะได้เงินประกันระดับหมื่นแต่ต้องใช้หนี้ให้ระดับล้านต่อราย (อาจมีบางคนที่กู้ได้มากแล้วเสียชีวิตลงก่อนเวลาที่ควรจะเสียน่ะค่ะ)หรือว่าที่ดิฉันได้ยินมาไม่จริง ขอความกระจ่างด้วยค่ะ

    • สมัครได้ค่ะ
      โดยทั่วไป 6 เดือนค่ะ
      ประกันภัยครั้งแรก คุ้มครอง 9 ปีค่ะ
      สำหรับเงินที่ต้องส่งต่องวดนั้นประมาณ 6400 บาท ถ้ากู้ล้านสองค่ะ
      รายละเอียดจำนวนงวด จะทราบตอนที่ทำสัญญานะคะ สอบถามธนาคารออมสินได้ค่ะ

  20. ไม่ได้เป็นครู

    จะกู้เงินชพคกู้ได้ตอนไหนคับ

  21. อยากทราบว่าโครงการ 7 จะเปิดให้กู้เมื่อไหร่ค่ะแลัวงเงินสุงสุดเท่าไหร่ค่ะ ขอรบกวนตอบกลับด้วค่ะ

  22. อยากทราบว่าโครงการที่7 จะเปิดให้กู้เมื่อไหร่ค่ะ..

  23. เป็นธุรการที่โรงเรียนจ้าง เงินเดือน 6,300 บาท ถ้าสมัคร สมาชิกแล้ว 1 ปี มีสิทธิกู้เงิน หรือไม่ค่ะ ขอบคุณคะ

  24. กรณีกู้ไม่เกิน600,000 เงินคงเหลือ 4 พันต้องมีระยะเวลามั้ยว่ากี่เดือน

  25. นางสายพิน ไชยโยธา

    เป็นพนักงานราชการค้ำประกัน ชพค.6ได้มั้ยค่ะ

  26. ปนิดา สิงห์สกุล

    อยากทราบว่าอยู่ในกระทรวงมหาดไทยสามารถกู้ได้ไหม พนักงาน/ลูกจ้างสัญญา 4ปี

  27. คนค้ำประกันเป็นข้าราชการครู แต่ไม่ได้เป็นสมาชิก ชพค. จะค้ำได้มั้ยคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ

  28. 1. อยากทราบว่าถ้าคนค้ำประกันเป็นราชการครูทั้ง 2 คน แต่ว่าเงินเดือนไม่ถึง 10,000.- จะค้ำประกันได้ไหม
    2. การจ่ายเงิน ชพค กำลังสงสัยว่า จ่าย 10 ปีนี่คือเฉพาะดอกหรือเปล่าครับ แล้วเงินต้นล่ะ ? เห็นบางคนบอกกู้แล้วต้องจ่ายตลอดชีวิต หลังจาก 10 ปี ก็ทำสัญญาใหม่ อีกคนก็บอกว่าจ่ายแค่ 10 ปี แล้วการกู้ก็จบกัน ต่อไปก็จ่ายแค่หักรายเดือนตามศพที่เสีย ตกลงการชำระเงินกู้เป็นอย่างไรครับ รบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายทีครับ ตอนนี้กำลังจะยื่นกู้แล้วได้ยินมาเลยลังเลถ้าตลอดชีวิตไม่ไหว แต่ถ้าจ่ายแค่ 10 ปี คงยื่นแน่นอน รบกวนทีครับ

  29. คุณอาเป็นครูเกษียณ มีสิทธิ์กู้ได้ 600000 ทางสำนักงานเชิญให้กรอกแบบฟอร์มกู้ได้เลยเพราะมีคุณสมบัตรพร้อมทุกอย่าง ติดที่หาคนค้ำประกันไม่ได้ ต้องการหาคนค้ำประกันที่เป็นข้าราชการครูใน กทม. ค่าตอบแทน 20000 (สองหมื่นบาท) ไม่มีความเสี่ยงค่ะ มีกำลังส่งแต่หาคนค้ำยากมากค่ะ ขอรบกวนผู้มีใจกรุณาที่มีหลักเกณฑ์ตามนี้ติดต่อกลับด่วนค่ะ 084556-3317

  30. อยากทราบว่าถ้าเสียชีวิตเงินสงเราะห์จะได้ครบไหมไม่ว่าจะเสียชีวิตเมื่อไรหลังจากกู้แล้ว

  31. ในกรณีที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวส่งเอกสารแล้ว คนค้ำเป็นพนักงานราชการและเขายินดีให้หักเงินได้ธนาคารจะอนุมัติรึเปล่าคะ

  32. เรื่องบูโรความจริงเกิดจากกการที่เราไปค้ำประกันให้เขาทางธนาคารน่าจะอนุโลมบ้างเพราะเราไม่ได้อยากให้เป็นแบบนี้แต่เขาไม่จ่ายเราเลยต้องรับผิดชอบแบบนี้เราผิดด้วยหรือถึงไม่มีสิทธิ์กู้กับเขาบ้างอยากให้ทางธนาคารเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ด้วยเพราะเป็นการช่วยครูที่ลำบากขอบคุณคะ

  33. ผมลาออกจากครูมาทำงานบริษัทครับผมไม่มีคนค้ำประกันที่เป็นราชการมีเพื่อนที่เป็นพนักงานราชการและครูเอกชนที่ยินดีค้ำให้ผมให้เขาค้ำให้ได้ไหมครับเพราะข้าราชการเขามีกลุ่มเพื่อนของเขาเขาไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเลยครับครูเชียงใหม่

  34. ผมเป็นสมาชิกครบ 1 ปี ลาออกจากครูจ้างมาเป็นข้าราชการ กทม. ตอนนี้ยินยอมให้หักเงินที่มีบัญชีธนาคารที่ จ.นครศรีฯไม่ทราบว่าถ้ายื่นเรื่อง ต้องยื่นที่ไหน และผู้ค้ำสามารถให้ข้าราชการสังกัดอื่นมาค้ำได้หรือไม่

  35. พนักงานราชการ

    พนักงานราชการ มีสิทธิ์กู้ได้ มีนานี้ เป็นสมาชิก ครบหกเดือน มีสิทธิ์ยื่นกู้ได้หรือเปล่าครับ

  36. มีคนรู้จักทำงานที่ออมสินเขาบอกว่าโครงการ 7 จะเริ่มประมาณมีนา เมษา รอหน่อยแล้วกันคะแต่เวลายื่นกู้ก็ต้องรออีกเพราะสมาชิกที่ต้องการกู้ก็มีมาก แต่ในกรณีนี้ลูกจ้างน่าสงสารที่สุดเพราะหาคนค้ำยากเพราะลูกจ้างไม่สามารถค้ำคืนให้เขาได้ และครูส่วนมากก็จับคู้กันค้ำแต่ลูกจ้าก็สามารถค้ำได้แต่ต้องมีเงินเดือน 10,000 บาทขึ้นไป

  37. ลูกจ้างชั่วคราวในโรงเรียนของรัฐ

    ขอความเมตตา….
    ข้าพเจ้าเป็นลูกจ้างชั่วคราวของโรงเรียนของรัฐมาเป็นระยะ5-6 ปี แล้ว และเป็นสมาชิก ช.พ.ค. มาเป็นปีแล้วและได้จ่ายเงินค่าสมาชิกมาโดยตลอด ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะกู้ ช.พ.ค. โครงการ 6 แต่ไม่สามารถกู้ได้เพราะว่าหาผู้ค้ำประกันยากมาก ผู้ค้ำประกันแคบมาก ครูที่มีอยู่ก็จับกลุ่มกันหมดแล้ว ทำให้เราผู้ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถจะกู้ได้ ทั้งที่เราก็เป็นสมาชิกเหมือนกันและก็จ่ายเงินเหมือนกัน..ผู้บริหารที่รับผิดชอบหน้าจะให้ความเมตตากับเราบ้าง ที่เราสมัครเป็นสมาชิกก็เพราะว่าเราจะได้ใช้สิทธิเท่ากับสมาชิกคนอื่นๆ บ้าง.. เราก็จ่ายค่าสมาชิกเท่ากับคนอื่นๆ แต่เราไม่สามารถใช้สิทธิได้….
    ช่วยให้ความเมตตาแก่ข้าพเจ้าด้วย….

  38. เป็นลูกจ้างชั่วคราว เป็นสมาชิกครบ 6 เดือนแล้วต้องการกู้โครงการ 6 แต่หาคนค้ำไม่ได้อยากทราบว่าคนค้ำประกันเป็นพนักงานราชการได้ไหมค่ะ ขอความกรุณตอบด้วยนะค่ะขอบคุณค่ะ

  39. อยากให้ ชพค. ระบุคุณสมบัติของผู้กู้และผู้ค้ำให้ชัดเจน และถ้ามีการเปลี่ยนเงื่อนไขอะไรในการกู้ก็ขอให้ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบด้วย ขณะนี้เหมือน ชพค.ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่ม่มาตรฐานที่แน่นอน บางคนกู้ได้ บางคนกู้ไม่ได้ทั้งๆที่คุณสมบัติผู้กู้และผู้ค้ำก็เหมือนกัน อยากทราบว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ อารมณ์หรือว่าดูหน้าตา

    • ต้องดูจากคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดค่ะ ที่สำคัญเครดิตทางด้านการเงินด้วย ลองเข้าไปอ่านเกณฑ์ในการกู้ให้ละเอียดอีกครั้งนะคะ

  40. มีแนวทางไหนที่จะยกเลิกการเป็นผู้ค้ำประกันได้ เนื่องจากตอนนี้ได้ค้ำประกันผู้กู้ไปแล้ว และผู้ก็ได้ลาออกจากที่ทำงานไปแล้ว(ทำงานหน่วยงานเดียวกัน, ไม่ได้บอกผู้คำประกันเลยว่าจะลาออก) เงินก็ผู้กู้พึ่งรับไปสัปดาห์ที่แล้ว ผู้ค้ำเกรงเกิดปัญหาในอนาคต ควรดำเนินการอย่างไรดี

  41. พนักงานราชการกับพนักงานราชการค้้ำกันได้หรือไม่

  42. เป็นครูอัตราจ้างกู้ได้หรือเปล่าค่ะ เป็นสมาชิกมา 3 ปีกว่าแล้วค่ะเงินเดือนหักประกันสังคมแล้วหรือ 7553 บาทค่ะ

  43. ถ้างานราชการด้วยกันค้ำกันได้ไหมค่ะเพราะมีเงินเดือนมากกว่า10,000 บาท จะค้ำประกันกันได้ไหม

  44. ตอนนี้เงินกู้ชพค.โครงการ 6 ได้ขยายระยะเวลา – ก.พ. ผมอยากหาผู้ที่จะคำประกันที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีค่าตอบแทนให้ 50,000 บาท โปรดติดต่อ อ.ธีระชัย ตะวงษ์ 08-3285-1641 อีเมลล์ t_k.tawong@msn.com ด่วน!!!!!!!!!

ส่งความเห็นที่ โสภา ยกเลิกการตอบ